วัฒนธรรมพันทาง(รังสรรค์ ธนะพรพันธ์ สรุปไว้(2536))

          การตกผลึกของ "วัฒนธรรมประชาธิปไตยอุปถัมถ์" จึงทำให้ผู้ที่ต้องการไต่เต้า(มิใช่เต้าไต่นะ่จ๊ะ) ในโครงสร้างอำนาจของสังคม ต้องสร้างและขยายความสัมพันธ์เชิงอุปถัมภ์ ทั้งในระดับบนและระดับล่าง นักการเมืองที่ต้องการขึ้นมามีอำนาจด้วยกระบวนการเลือกตั้ง ไม่เพียงแต่จะต้องมีความสัมพันธ์เชิงอุปถัมภ์ กับราษฎรในเขตเลือกตั้ง โดยที่ในขณะเดียวกันก็ต้องมี ส.ส. บริวารจำนวนมากพอสมควรเท่านั้น หากทว่ายังต้องมีความสัมพันธ์เชิงอุปถัมภ์กับ ผู้นำฝ่ายทหารที่คุมกำลัง อีกด้วย ปรากฏการณ์เรื่องการซื้อขายเสียง ในการเลือกตั้งจึงมิใช่เรื่องทีจะเข้าใจได้โดยถ่องแท้ หากไม่พิจารณาในบริบทของความสัมพันธ์เชิงอุปถัมภ์ "วัฒนธรรมประชาธิปไตยอุปถัมภ์" มีส่วนผลักดันให้มีการสร้างความสัมพันธ์เชิงอุปถัมภ์ ในตลาดการเมืองทุกระดับ โดยที่ในขณะเดียวกันก็ก่อให้มีเกิดความจำเป็น ในการแสวงหาส่วนเกินทางเศรษฐกิจ เพื่อหล่อเลี้ยงความสัมพันธ์ดังกล่าวนี้ การทำความเข้าใจเกี่ยวกับ "วัฒนธรรมประชาธิปไตยอุปถัมภ์" นับเป็นปมเงื่อนสำคัญที่จะช่วยให้เข้าใจ พฤติกรรมนักการเมืองและชนชั้นนำทางอำนาจในสังคมไทย

          ในขณะเดียวกันกับที่มีการอัดฉีด "วัฒนธรรมประชาธิปไตย" เข้าสู่สังคมไทย  หน่อทุนนิยมก็กำลังเจริญเติบโตในระบบเศรษฐกิจไทยด้วย การเติบโตของทุนนิยมในสังคมที่ถูกครอบงำด้วยวัฒนธรรมอำนาจนิยม ก่อให้เกิิดระบบทุนนิยมอภิสิทธิ์ กลุ่มทุนที่จะเติบใหญ่ได้ จำเป็นต้องเข้าไปอยู่ใน ความสัมพันธ์เชิงอุปถัมภ์กับผู้ทรงอำนาจทางการเมือง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผู้นำฝ่ายทหาร เพื่อให้ได้มาซึ่ง อภิสิทธิ์และอำนาจผูกขาด ในการประกอบการ

Search Amazon.com for public policy 

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

โลกของศิลปิน : thaivi.com

หนังสือน่าอ่าน(Good Book)