วัฒนธรรมอุปถัมภ์-อำนาจนิยม

          เป็นที่ยอมรับว่าสังคมไทยเดิมเป็นสังคมเกษตรกรรม ดังนั้น วัฒนธรรมเกษตรกรรมซึ่งเป็นวิถีการผลิต จึงมีอิทธิพลสูง เมื่อผสมผสานกับการจัดระบอบการปกครองแบบศัดดินาโบราณ ก็ก่อให้เกิดวัฒนธรรมเศรษฐกิจ-การเมือง ในรูปวัฒนธรรมอุปถัมภ์ในระบอบเศรษฐกิจ และวัฒนธรรมอำนาจนิยมในการเมือง

          รังสรรค์ ธนะพรพันธุ์ สรุปลักษณะของวัฒนธรรมทั้งสองไว้อย่างกระทัดรัดว่า

          ระบบความสัมพันธ์เชิงอุปถัมภ์ เป็นระบบที่กำหนดหน้าที่ระหว่างบุคคลในแต่ละระดับชั้นสังคม โดยที่ฝ่ายหนึ่งเป็นผู้อุปถ้มภ์ และอีกฝ่ายหนึ่งเป็นผู้รับการอุปถัมภ์ ในสังคมไทยแต่โบราณ ผู้อุปถัมภ์จักต้องสามารถยึดกุมกำลังคนไว้ได้ เพราะกำลังคนเป็นฐานแห่งอำนาจ ไพร่ที่สวามิภักดิ์เป็นบริวารจักต้องทำงานชนิดให้เปล่าแก่มูลนาย โดยที่มูลนายให้ความคุ้มครอง และปกป้องผู้ที่อยู่ในความอุปถัมภ์ ตลอดจนให้ความช่วยเหลือในยามที่ประสบความเดือดร้อน ระบบความสัมพันธ์เชิงอุปถัมภ์ก่อให้เิกิดวัฒนธรรมการรวมกลุ่ม และการเล่นพรรคเล่นพวก เมื่อมูลนายในสายความสัมพันธ์อุปถัมภ์ใดขึ้มมามีอำนาจ บรรดาบริวารของมูลนายนั้น ก็พลอยมอำนาจและเจริญด้วยทรัพย์ศฤงคารตามไปด้วย ในกรณีตรงกันข้าม หากมูลนายในสายสัมพันธ์ใดตกต่ำในโครงสร้างอำนาจ บริวารในสายสัมพันธ์นั้น ก็จะพลอยตกต่ำตามไปด้วยเช่นเดียวกัน ผู้คนที่อยู่ในสายสัมพันธ์อุปถัมภ์เดียวกัน ย่อมเห็นแก่กันและกันและช่วยเหลือเกื้อกูลกัน ยิ่งกว่าผู้ที่อยู่ในสายสัมพันธ์อุปถัมภ์อื่น

          วัฒนธรรมอำนาจนิยม เป็นวัฒนธรรมที่ยึดหลัก "อำนาจเป็นธรรม" โดยทีมาตรฐานความชอบธรรมถูกกำหนดด้วยอำนาจเป็นเกณฑ์ ภายใต้วัฒนธรรมดังกล่าวนี้ ความเห็นของผู้มีอำนาจย่อม "ถูกต้อง" มากกว่าความเห็นของผู้ไร้อำนาจ ความถูกผิดมิได้กำหนดด้วย เหตุผลและข้อเท็จจริง สังคมที่ถูกครอบงำด้วยวัฒนธรรมอำนาจนิยม จะมีค่านิยมยกย่องผู้มีอำนาจ และผู้ทรงอำนาจมีแนวโน้มที่จะใช้อำนาจ เพื่อแสดงความยิ่งใหญ่แห่งตน

         ดังนั้น การแบ่งความสูงต่ำของสถานะ (hierachical structure)  การมี "ผู้ใหญ่" กับ "ผู้น้อย"  "เจ้านาย" กับ "ลูกน้อง" ก็ีดี  การเชื่อฟังและยอมตาม "ผู้ใหญ่" ตลอด และการหลีกเลี่ยงการเผชิญหน้า การหวังพึ่งพิง "ผู้ใหญ่"  การให้ความสำคัญกับ "พรรคพวก"  การให้และความอุปถัมภ์ และการตอบแทนด้วยความกตัญญูก็ดี ฯลฯ เหล่านี้ย่อมเป็นพฤติกรรมที่เกิดจากวัฒนธรรมทั้งสองทั้งสิ้น

        วัฒนธรรมเช่นนี้ หากอยู่ในระบบการผลิตแบบเกษตรเพื่อเลี้ยงตนเอง โดยที่ไม่มีปฏิสัมพันธ์กับโลกภายนอก ดูจะเป็น "ธรรมาภิบาล" ที่เหมาะสมสำหรับสังคมไทยและคนไทย

         วัฒนธรรมเกษตรกรรม มีลักษณะสำคัญดังนี้ คือ การพึ่งพาในชุมชนต่อกันมีสูง การพึ่งพาธรรมชาติและ "ผี" ที่เป็นปัจจัยบันดาล หรือเปลี่ยนแปลงธรรมชาติได้ การให้ความสำคัญกับเวลาน้อยมาก ความสนุกสนาน และการรักความสบาย การ "เชื่อ" มากกว่า "คิด" ฯลฯ

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

โลกของศิลปิน : thaivi.com

หนังสือน่าอ่าน(Good Book)