สรุปผลแบบสอบถามนักวิเคราะห์ครั้งที่ 2/2553==>นักวิเคราะห์เพิ่มเป้าปีนี้ ลดเป้าปีหน้า


นักวิเคราะห์เพิ่มเป้าปีนี้  ลดเป้าปีหน้า

                        นักวิเคราะห์ปรับเพิ่มคาดการณ์ดัชนีหุ้นปลายปี 53 เป็นเฉลี่ย 849 จุด  จากคาดการณ์เดือนมีนาคม 827 จุด  และคาดดัชนีหุ้นปลายปี 54 อยู่ที่ 915 จุด โดยประเมินดัชนีสูงสุดในปี 53 ไว้ที่ 873 จุด และต่ำสุดที่ 733 จุด  ทั้งนี้ นายสมบัติ นราวุฒิชัย เลขาธิการสมาคมนักวิเคราะห์หลักทรัพย์ เปิดเผยผลสำรวจความเห็นนักวิเคราะห์ครั้งล่าสุดว่า   ปัจจัยบวกสำคัญมาจากแนวโน้มการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทย และมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล การฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก สภาพคล่องในไทยที่ยังอยู่ในระดับสูง เศรษฐกิจในเอเชีย และแนวโน้มผลประกอบการที่ปรับตัวดีขึ้น  ทำให้นักวิเคราะห์ปรับเพิ่มประมาณการอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจปี 53 เป็น 5.2% เพิ่มขึ้นจากเดิมที่ 4.0%  และอัตราการเติบโตของกำไรต่อหุ้น (EPS Growth) 15.4% จากเดิมที่ 13.9%
นอกจากนี้ แนะภาครัฐจับตาปัญหาสำคัญ ได้แก่ ปัญหาทางการเมือง ปัญหาเศรษฐกิจโลก ปัญหาราคาสินค้า และปัญหาความล่าช้าในการดำเนินมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ และเบิกจ่ายงบประมาณ  พร้อมเร่งดำเนินการสามด้าน คือ  เร่งรัดการดำเนินมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ การเบิกจ่ายและการดำเนินโครงการไทยเข้มแข็ง แก้ไขความขัดแย้งทางการเมือง แก้ไขปัญหาสังคม รวมถึงส่งเสริมการลงทุนในตลาดหุ้น
                มีสำนักวิจัยจากบริษัทหลักทรัพย์แสดงความเห็นโดยรวม 21 แห่ง
                ความเชื่อมั่นในความมั่นคงทางการเมือง 

ช่วงเวลา
ไม่เชื่อมั่นเลย
เชื่อมั่นน้อย
เชื่อมั่นปานกลาง
เชื่อมั่นสูง
ก่อนเกิดจลาจลในช่วง เมย.-พค.
-
61.90%
38.10%
-
ช่วงที่เกิดจลาจล เมย.-พค.
19.05%
71.43%
4.76%
4.76%
ปัจจุบัน
-
9.52%
66.67%
23.81%
               
สมมติฐานหลักที่  นักวิเคราะห์ใช้ประกอบการทำบทวิเคราะห์ในขณะนี้จนถึงสิ้นปี 2553  (มีผู้ตอบ 20 แห่ง)
  ปัจจัยบวก
1)       แนวโน้มการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทย และมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล
ผ่านโครงการลงทุนขนาดใหญ่ และแผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง                                     75%         ของผู้ตอบ
2)       การฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก                                                                                                           50%         ของผู้ตอบ
3)       สภาพคล่องในไทยที่อยู่ในระดับสูง จากกระแสเงินทุนไหลเข้า                                  45%         ของผู้ตอบ
4)       การฟื้นตัวของเศรษฐกิจในเอเชีย และ แนวโน้มผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียน                     
ที่ปรับตัวดีขึ้น                                                                      อย่างละ                   35%         ของผู้ตอบ
  ปัจจัยลบ  
1)       ปัจจัยทางการเมืองภายในประเทศ รวมถึงเสถียรภาพรัฐบาล                                     70%         ของผู้ตอบ
2)      สถานการณ์เศรษฐกิจต่างประเทศที่อาจชะลอตัวกว่าที่คาด โดยเฉพาะอย่างยิ่ง
 สหรัฐและจีน                                                                                         65%         ของผู้ตอบ
3)       ปัญหาหนี้และการขาดดุลงบประมาณในระดับสูงของยุโรป ที่อาจส่งผล
กระทบไปทั่วโลก                                                                                        60%         ของผู้ตอบ
4)       แนวโน้มการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายทั้งในต่างประเทศ และไทย                       40%         ของผู้ตอบ

ปัญหาใดในปี 2553 ที่ภาครัฐต้องจับตาและเตรียมการรองรับมากที่สุด  (มีผู้ตอบ 20 แห่ง)
1.        ปัญหาทางการเมือง   ซึ่งรวมถึงเสถียรภาพของรัฐบาล และความเสี่ยงที่จะเกิดความรุนแรง
ต่อเนื่อง                                                                                                     70%         ของผู้ตอบ
2.        ปัญหาเศรษฐกิจโลก   ที่ยังมีความผันผวนและอาจเกิดวิกฤตรอบสอง   ซึ่งจะส่งผลกระทบ
        ต่อการส่งออกของไทย                                                                               30%         ของผู้ตอบ
3.        ปัญหาราคาสินค้าแพง จากแนวโน้มเงินเฟ้อที่เพิ่มสูงขึ้น และ ปัญหาความล่าช้าในการดำเนินมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ  และเบิกจ่ายงบประมาณ                         อย่างละ    15%       ของผู้ตอบ

ข้อแนะนำมาตรการใหม่ในปี 2553 ให้รัฐบาลดำเนินการโดยเร็ว เพื่อเป็นประโยชน์ต่อภาวะเศรษฐกิจ สังคม และตลาดทุนไทย
(มีผู้ตอบ 18 แห่ง)
·           มาตรการทางเศรษฐกิจ  เร่งการดำเนินมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างมีประสิทธิภาพ  เร่งรัดการ
เบิกจ่ายงบประมาณ และการใช้จ่ายภาครัฐ โดยเฉพาะอย่างยิ่งโครงการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน
และโครงการไทยเข้มแข็ง                                                                                                               61%         ของผู้ตอบ
·           มาตรการทางการเมือง โดยแก้ไขปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองในประเทศ สร้างเสถียรภาพและ
ความปรองดองอย่างต่อเนื่อง และ มาตรการทางสังคม โดยเร่งแก้ไขปัญหาทางสังคม เช่น ปัญหาการ
กระจายรายได้  การเข้าถึงบริการทางสังคม เป็นต้น                                     อย่างละ   28%         ของผู้ตอบ
·         มาตรการด้านตลาดทุน  ส่งเสริมการลงทุนในตลาดหุ้น เช่น ใช้มาตรการทางภาษีในการสนับสนุน
ให้มีบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์เพิ่มขึ้น  นำรัฐวิสาหกิจเข้าจดทะเบียน เป็นต้น    14%          ของผู้ตอบ
ตัวเลขคาดการณ์ที่สำคัญ สำหรับปี 2553 และ ปี 2554
  ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ หรือ SET Index  
-  ปี 2553
+ ณ สิ้นปี 2553  ปรับเพิ่มขึ้นจากการสำรวจเมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมา โดยตัวเลข สิ้นปี 2553 คาดการณ์ล่าสุดอยู่ที่เฉลี่ย 849 จุด จากเดิมคาดไว้ 827 จุด  
+ จุดสูงสุด ของ SET Index ในปี 2553 นักวิเคราะห์ประเมินไว้ที่เฉลี่ย 873 จุด เพิ่มขึ้นจากประมาณการเดิมที่ 861 จุด
+ จุดต่ำสุด ของ SET Index ในปี 2553 นักวิเคราะห์ประเมินไว้ที่เฉลี่ย 733 จุด เพิ่มขึ้นจากประมาณการเดิมที่ 643 จุด
                -  ปี 2554
+ ณ สิ้นปี 2554 นักวิเคราะห์ประเมิน SET Index ณ สิ้นปี 2554 ไว้ที่เฉลี่ย 915 จุด ลดลงจากประมาณการเดิมที่ 946 จุด
  อัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจ หรือ GDP Growth
ของปี 2553  นักวิเคราะห์คาดการณ์อัตราการขยายตัวเฉลี่ยที่ 5.2% ดีขึ้นจากประเมินครั้งที่แล้วที่คาดว่าจะเติบโตเฉลี่ย 4%
- ของปี 2554  นักวิเคราะห์ประเมินว่าในปี 2554 เศรษฐกิจจะมีอัตราการขยายตัวเฉลี่ยที่ 4.3%  ลดลงจากประมาณการเดิมที่ 4.5%
  ผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียน หรือ EPS Growth  ทั้งปี 2553    คาดการณ์มีการเติบโต เฉลี่ยที่ 15.4%  
  อัตราแลกเปลี่ยนระหว่างเงินบาทและดอลลาร์สรอ.  
ณ สิ้นปี 2553  ตัวเลขคาดการณ์เฉลี่ยที่ 32.1 บาทต่อดอลลาร์สรอ.
ณ สิ้นปี 2554  ตัวเลขคาดการณ์เฉลี่ยที่ 31.4 บาทต่อดอลลาร์สรอ.
  อัตราดอกเบี้ย RP 1 วัน ณ สิ้นปี 2553
-    อัตราดอกเบี้ย RP 1 วัน  นักวิเคราะห์ประเมินอัตราดอกเบี้ย RP 1 วันสิ้นปี 53 เฉลี่ย  1.8% เท่ากับผลสำรวจครั้งก่อน
-    ช่วงเวลาที่คาดว่าจะเริ่มสูงขึ้น   
+ ครึ่งหลังของปี 2553                                      94 %
+ ครึ่งแรกของปี 2554                                         6 %
  ดัชนีราคาผู้บริโภค หรือ Consumer Price Index  (CPI) เฉลี่ยทั้งปี 2553  คาดว่าจะคงเดิมอยู่ที่ 3.3%  
ตารางที่ 1  -  ตัวเลขคาดการณ์ที่สำคัญ ปี 2553 และ ปี 2554



ค่าเฉลี่ย
จำนวนสำนักวิจัยที่ตอบ


สำรวจ ณ
24 มีค.53
สำรวจ ณ
14 กค.53
สำรวจ ณ
24 มีค.53
สำรวจ ณ
14 กค.53
SET Index




 - ณ สิ้นปี 53
827
849
18
20
 - ณ สิ้นปี 54
946
915
8
11
- จุดสูงสุดของปี 53
861
873
18
17
- จุดต่ำสุดของปี 53
643
733
17
17
GDP Growth




 - ปี 53
4.0
5.2
20
21
 - ปี 54
4.5
4.3
15
18
 EPS Growth ปี 53
13.9
15.4
20
19
FOREX  (Bht:US$)




- สิ้นปี 53
32.2
32.1
20
19
- สิ้นปี 54
31.4
31.4
16
15
ดอกเบี้ย RP 1 วัน สิ้นปี 53
1.8
1.8
21
21
CPI เฉลี่ยทั้งปี 53
3.3
3.3
20
21

  อัตราการเติบโตของกำไรต่อหุ้น ( EPS Growth) ของกลุ่มธุรกิจสำคัญ ในปี 2553
  - ปี 2553   กลุ่มธุรกิจที่ คาดว่าจะมีอัตราการเติบโตของกำไรต่อหุ้นสูงที่สุดสามอันดับแรก คือ
1. กลุ่มเดินเรือ  คาดว่าจะเติบโตเฉลี่ยที่  52.19 %
2. กลุ่มปิโตรเคมีเติบโตเป็นอันดับสองที่เฉลี่ย  47.26 %
3. กลุ่มชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์คาดเติบโตเฉลี่ย  28.07 %  


  อัตราผลตอบแทนเงินปันผล (Dividend Yield) ของกลุ่มธุรกิจสำคัญ ในปี 2553
   - ปี 2553   นักวิเคราะห์ประเมินอัตราผลตอบแทนเงินปันผลของกลุ่มธุรกิจต่าง ๆ โดยกลุ่มธุรกิจที่ คาดว่าจะมีอัตราผลตอบแทนเงินปันผลสูงที่สุดสามอันดับแรก คือ  
1. กลุ่มสื่อสาร  ประเมินอัตราผลตอบแทนไว้ที่ 6.66 %
2. กลุ่มชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์  คาดไว้ที่ 5.20 %
3. กลุ่มอาหาร  คาดว่าอยู่ที่ 4.66 %
ตารางที่ 2 - EPS Growth (%) และ Dividend Yield (%) ปี 2553 แยกตามกลุ่มธุรกิจ
กลุ่มธุรกิจ
EPS Growth (%)  (ค่าเฉลี่ย)
 Dividend Yield (%)  (ค่าเฉลี่ย)
เดินเรือ
52.19
2.47
ปิโตรเคมี
47.26
3.62
ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์
28.07
5.20
โรงแรม
26.5
1.38
อาหาร
19.42
4.66
พลังงาน
16.31
4.24
ธนาคาร
14.92
3.17
สื่อสาร
9.61
6.66
วัสดุก่อสร้าง
8.73
4.37
อสังหาริมทรัพย์
2.05
4.47

คำแนะนำแก่นักลงทุน
·   สำหรับการลงทุนระยะกลาง-ยาว  แนะนำให้ลงทุนในหุ้นที่มีปัจจัยพื้นฐานแข็งแกร่ง มีเงินปันผลดีสม่ำเสมอ มีแนวโน้มผลกำไรเติบโตต่อเนื่อง ราคายังไม่สูง โดยพิจารณาบทวิเคราะห์และข้อมูลพื้นฐาน ซึ่งรวมถึงการฟื้นตัวของเศรษฐกิจทั้งในไทยและต่างประเทศ  ภาวะเศรษฐกิจของประเทศสำคัญ เช่น สหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป เป็นต้น แนวโน้มผลประกอบการของทั้งอุตสาหกรรมและรายบริษัท  และสถานการณ์การเมืองในประเทศ  นอกจากนี้ ควรเลือกลงทุนในหุ้นที่มีความเสี่ยงเหมาะสมกับที่ตนจะยอมรับได้  และรอจังหวะซื้อสะสมเมื่อตลาดอ่อนตัว
·   สำหรับการลงทุนระยะสั้น  เลือกหุ้นที่มีปัจจัยพื้นฐานดี  และควรใช้ความระมัดระวังในการลงทุน  เนื่องจากตลาดในระยะนี้ยังมีความเสี่ยงและผันผวน  อาจได้ผลตอบแทนไม่สูงมากนัก

หุ้นแนะนำ
หุ้นเด่นที่นักวิเคราะห์แนะนำให้ลงทุนตรงกันหลายสำนักวิจัย ได้แก่ ADVANC, BANPU, BBL, CPF, KBANK, PS, PTT, SCC, TISCO เป็นต้น (เรียงตามลำดับตัวอักษร)   
Text Box: 4/4แหล่งข้อมูล...สมาคมนักวิเคราะห์หลักทรัพย์ โทร. 02-229-2329, 02-229-2355-6 อีเมล์ jirawan@saa-thai.org   http://www.saa-thai.org/thai/home.html

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

โลกของศิลปิน : thaivi.com

หนังสือน่าอ่าน(Good Book)