ระบอบการเมืองแบบประชาธิปไตยและระบบเศรษฐกิจแบบตลาด

    วัฒนธรรมประชาธิปไตย เป็นด้านตรงกันข้ามของวัฒนธรรมอำนาจนิยมเพราะวัฒนธรรมประชาธิปไตย ปลูกฝังให้ผู้คนเคารพและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น มาตราฐานความชอบธรรมมิได้ถูกกำหนดด้วยอำนาจ หากแต่ถูกกำหนดด้วยเหตุผลและข้อเท็จจริง สังคมที่มีวัฒนธรรมประชาธิปไตยจะกำหนดทางเลือกของสังคม(social choice) ด้วยการรับฟังความเห็นของคนส่วนใหญ่ โดยที่ในขณะเดียวกันนั้น ก็ไม่ละเลยที่จะรับฟังความคิดเห็นและคุ้มครองสิทธิของชนกลุ่มน้อย ในสังคมที่ถูกครอบงำด้วยวัฒนธรรมอำนาจนิยม ผู้ทรงอำนาจเป็นผู้กำหนดและชี้ทางเลือกของสังคม แต่ในสังคมประชาธิปไตย ประชาชนจะมีสิทธิและมีส่วนร่วมในการกำหนดทางเลือกของสังคมร่วมกัน...

           ระบบทุนนิยม เป็นระบบความสัมพันธ์ในการผลิตที่เชื่อถือความเป็นเลิศของมนุษย์ ในประการสำคัญเชื่อว่า มนุษย์สามารถแก้ปัญหาของตนเองได้ โดยที่รัฐไม่จำเป็นต้องเข้าไปแทรกแซง แม้ว่ามนุษย์จะมีความเห็นแก่ตัว แต่ถ้ามนุษย์มีเสรีภาพในการตัดสินใจ พลังในการแข่งขันในสังคมจะสร้างแรงกดดันให้ มนุษย์มีพฤติกรรมในทางที่ก่อสวัสดิการสูงสุดแก่สังคม ระบบทุนนิยมก่อให้เกิด วัฒนธรรมปัจเจกชนนิยม(Individualism) ความเชื่อเรื่องเสรีภาพและการส่งเสริมการแข่งขัน ตลอดจนการยอมรับกรรมสิทธิในทรัพย์สินส่วนบุคคล

ที่มา: การสร้างธรรมาภิบาลในสังคมไทย

Search Amazon.com for democracy 

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

โลกของศิลปิน : thaivi.com

หนังสือน่าอ่าน(Good Book)