สรุปผลแบบสอบถามนักวิเคราะห์ครั้งที่ 2/2554 (แถลงข่าว 13 ก.ค. 54)

                สรุปผลแบบสอบถามนักวิเคราะห์ครั้งที่ 2/2554

                                (แถลงข่าว 13 ก.ค. 54)

นักวิเคราะห์เชียร์รถไฟฟ้า และลดภาษีบริษัท, ค้านค่าแรง 300, ป.ตรี หมื่นห้า และเลิกกองทุนน้ำมัน

                        นักวิเคราะห์ถึง 90% มีความมั่นใจความมั่นคงของรัฐบาลที่มีพรรคเพื่อไทยเป็นแกนนำ ในระดับปานกลางขึ้นไป และนักวิเคราะห์ส่วนใหญ่เห็นด้วยกับโครงการรถไฟฟ้า,รถไฟความเร็วสูง  และนโยบายลดภาษีเงินได้นิติบุคคล  แต่คัดค้านนโยบายกระชากค่าแรงขั้นต่ำเป็น 300 บาท ป.ตรีหมื่นห้า และการยกเลิกกองทุนน้ำมัน
สมาคมนักวิเคราะห์หลักทรัพย์ โดยนายสมบัติ    นราวุฒิชัย เลขาธิการ เปิดเผยผลสำรวจความเห็นนักวิเคราะห์ครั้งล่าสุด พบว่า  ปัจจัยบวกสำคัญมาจากสถานการณ์การเมืองที่มีเสถียรภาพและความมั่นคงมากขึ้น แนวโน้มการฟื้นตัวของเศรษฐกิจสหรัฐ และเอเซีย นโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจและการลงทุนของภาครัฐ การอุปโภคบริโภคและการลงทุนของภาคเอกชน  รวมถึงผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียนที่ดีขึ้น  ซึ่ง นักวิเคราะห์ประมาณการอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจปี 54 ที่เฉลี่ย 4.3%  และปี 55 ที่เฉลี่ย 4.7%  ในขณะที่คาดว่าอัตราการเติบโตของกำไรต่อหุ้น (EPS Growth) ปี 54 จะปรับตัวเพิ่มขึ้นเป็นเฉลี่ย 16.7%    นอกจากนี้ นักวิเคราะห์ปรับเพิ่มดัชนีหุ้น ณ สิ้นปี 54 เป็นเฉลี่ย 1,197 จุด จากประเมินครั้งก่อนในเดือนเมษายนที่ 1,181  จุด  โดยประเมินจุด สูงสุดครึ่งปีหลังที่เฉลี่ย 1,221 จุด ต่ำสุดที่เฉลี่ย 995 จุด     
ข้อเสนอนโยบายที่นักวิเคราะห์แนะภาครัฐดำเนินการ ได้แก่ นโยบายด้านภาษี นโยบายด้านการศึกษา และนโยบายด้านแรงงาน  พร้อมแสดงความเห็นต่อคุณสมบัติที่เหมาะสมของรัฐมนตรีว่า ควรมีความรู้และการศึกษาสอดคล้องกับกระทรวงที่จะเข้ามาทำหน้าที่   รวมทั้งเคยมีประวัติการทำงานน่าเชื่อถือและประสบความสำเร็จ
                มีสำนักวิจัยจากบริษัทหลักทรัพย์แสดงความเห็นโดยรวม 20 แห่ง ได้ผลสำรวจดังนี้
               

สมมติฐานหลักที่นักวิเคราะห์ใช้ในการวิเคราะห์เศรษฐกิจและการลงทุน (มีผู้ตอบ 20 แห่ง)


• ปัจจัยบวก


1) สถานการณ์ทางการเมือง รวมถึงความมั่นคงของรัฐบาลและความเชื่อมั่นทางการเมืองและ นโยบายของรัฐบาล 55% ของผู้ตอบ


2)แนวโน้มการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก โดยเฉพาะสหรัฐฯ และเอเชีย 45% ของผู้ตอบ


3)นโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจและการลงทุนของภาครัฐ 35% ของผู้ตอบ


4)การอุปโภคบริโภคและการใช้จ่าย/การลงทุนของภาคเอกชน 35% ของผู้ตอบ


5)ผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียนที่ขยายตัว 25% ของผู้ตอบ


• ปัจจัยลบ


1)ปัญหาหนี้สาธารณะในยุโรป 65% ของผู้ตอบ


2)อัตราเงินเฟ้อที่มีแนวโน้มสูงขึ้น 55% ของผู้ตอบ


3)สถานการณ์ทางการเมืองภายในประเทศที่ยังมีความไม่แน่นอน 45% ของผู้ตอบ


4)เศรษฐกิจโลกและสหรัฐฯ ที่ชะลอตัวลง 35% ของผู้ตอบ


5)ทิศทางอัตราดอกเบี้ยที่เป็นขาขึ้น 30% ของผู้ตอบ


ความมั่นใจเกี่ยวกับเสถียรภาพของรัฐบาลที่มีพรรคเพื่อไทยเป็นแกนนำ (มีผู้ตอบ 20 แห่ง)


· มั่นใจมาก 30 % ของผู้ตอบ


· มั่นใจปานกลาง 60% ของผู้ตอบ


· มั่นใจน้อย 10% ของผู้ตอบ
ความเห็นต่อนโยบายต่างๆ ของรัฐบาลใหม่ โดยพิจารณาจากความเหมาะสมกับสภาพเศรษฐกิจและการคลัง 
นโยบาย
เห็นด้วย (%)
ไม่เห็นด้วย (%)
ไม่มีความเห็น (%)
คำอธิบายเพิ่มเติม
·    ค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาท
20
60
20
ทำให้ต้นทุนเพิ่ม เสนอให้ทยอยปรับให้สอดคล้องกับการเติบโตของเศรษฐกิจ
·    เงินเดือนเริ่มต้น ป.ตรี 15,000 บ.
25
65
10
เสนอให้เป็นไปตามความรู้ความสามารถและกลไกตลาด
·    ลดภาษีนิติบุคคลเหลือ 23% และปีต่อไปเหลือ 20%
80
20
0
เป็นการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันให้กับภาคเอกชน แต่ควรระวังการขาดดุลงบประมาณ
·    จำนำข้าว+เครดิตการ์ดเกษตรกร
17
58
25
เกรงจะเป็นภาระรัฐบาลมากเกินไป
·    ระบบป้องกันน้ำท่วมภาคกลาง & กทม
80
15
5
เป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจทางอ้อมเนื่องจากเป็นการลงทุนขนาดใหญ่
·    ยกเลิกกองทุนน้ำมัน
20
65
15
เกรงจะเกิดปัญหาหากราคาน้ำมันปรับตัวสูงขึ้นมาก และรัฐบาลอาจต้องเข้ามาแบกรับภาระ
·    รถไฟฟ้า 10 สาย
90
10
0
เป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจทั้งทางตรงและทางอ้อม
·    รถไฟความเร็วสูงเชื่อมเมืองสำคัญ
100
0
0
เป็นบวกต่อภาพรวมเศรษฐกิจ และช่วยลดต้นทุนการขนส่ง
·    รถไฟรางคู่
100
0
0
เป็นบวกต่อภาพรวมเศรษฐกิจ และช่วยลดต้นทุนการขนส่ง
·    แลนด์บริดจ์ภาคใต้
55
5
40
ควรระวังเรื่องผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมด้วย
·    บ้านหลังแรก ทยอยคืนภาษีให้
50
50
0
ควรระวังว่าอาจเป็นการกระตุ้นการบริโภคมากเกินตัวได้
·    รถคันแรก ทยอยคืนภาษีให้
40
60
0
ควรระวังว่าอาจเป็นการกระตุ้นการบริโภคมากเกินตัวได้




ความเห็นต่อแนวทางการหารายรับเพิ่มเติมในอนาคตหากรัฐบาลขาดดุลมาก
แนวทาง
จำนวนผู้ตอบ (คน)
เห็นด้วย (%)
ปานกลาง (%)
ไม่เห็นดวย (%)
คำอธิบายเพิ่มเติม
·    เพิ่มภาษีมูลค่าเพิ่ม
20
25
20
55
ควรรอให้เศรษฐกิจดีและอัตราเงินเฟ้ออยู่ในระดับต่ำก่อน
·    เพิ่มภาษีเงินได้นิติบุคคลกลับขึ้นไป
20
10
35
55
ควรคำนึงถึงผลกระทบในภาพรวมด้วย
·    เพิ่มภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
20
5
15
80
-
แนวทาง
จำนวนผู้ตอบ (คน)
เห็นด้วย (%)
ปานกลาง (%)
ไม่เห็นดวย (%)
คำอธิบายเพิ่มเติม
·    เพิ่มภาษีสรรพสามิต
19
79
16
5
เพิ่มสำหรับสินค้าบางประเภท เช่น สินค้าบาป (เหล้า บุหรี่ เป็นต้น) สินค้าฟุ่มเฟือย สินค้าที่เสี่ยงต่อสุขภาพ เป็นต้น
·    เพิ่มภาษีศุลกากร
19
42
21
37
เพิ่มสำหรับสินค้าบาป และสินค้าฟุ่มเฟือย
·    เพิ่มภาษีอื่นๆ
8
63
13
25
เช่น ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง เป็นต้น
·    ไม่เพิ่มภาษีแต่หาทางลดรายจ่ายแทน
18
22
50
28
หากลดการคอร์รัปชั่นได้ ก็เสมือนมีรายได้เพิ่มแล้ว
·    ขายหุ้นรัฐวิสาหกิจ
19
58
21
21
การขายหุ้นจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของรัฐวิสาหกิจด้วย โดยอาจพิจารณาเลือกทำเป็นบางแห่ง
·    หวยบนดิน หวยออนไลน์
1
100
0
0
-




ข้อเสนอใหม่ ให้รัฐบาล นำไปดำเนินการ เพื่อประโยชน์ต่อประเทศไทย (มีผู้ตอบ 17 แห่ง)


1. นโยบายด้านภาษี โดยปรับโครงสร้างภาษีทั้งระบบ เช่น ลดภาษีเงินได้นิติบุคคล และเพิ่มภาษีมูลค่าเพิ่ม ลดภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ปรับปรุงการหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อน ในการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เก็บภาษีสินค้าฟุ่มเฟือย ผลักดันภาษีที่ดิน/ ภาษีมรดก                                                                                                                      41% ของผู้ตอบ


2. นโยบายด้านการศึกษา โดยวางรากฐานการศึกษาให้แก่ประชาชนอย่างทั่วถึง พัฒนาระบบการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมให้มีการคิดอย่างเป็นระบบ พัฒนาศูนย์ความรู้ไปยังภูมิภาคสนับสนุนเงินเพื่อการศึกษา เป็นต้น                         35% ของผู้ตอบ


3. นโยบายด้านแรงงาน โดยพัฒนาทักษะฝีมือแรงงานให้สูงขึ้น เพิ่มสิทธิประโยชน์ในระบบ ประกันสังคม ปรับค่าแรงขั้นต่ำแบบค่อยเป็นค่อยไป                                                                                                                                    24% ของผู้ตอบ



ความเห็นต่อคุณสมบัติที่เหมาะสมของรัฐมนตรี  (มีผู้ตอบ 20 แห่ง)  นักวิเคราะห์ให้น้ำหนักของคุณสมบัติแต่ละข้อดังนี้
คุณสมบัติ
มาก (%)
ปานกลาง (%)
น้อย (%)
·    ความรู้และการศึกษาสอดคล้องกับกระทรวงที่จะเข้าทำหน้าที่
85
15
0
·    ประวัติดีมีความน่าเชื่อถือ
80
15
5
·    เคยมีผลการทำงานในอดีตที่ประสบความสำเร็จ
65
30
5
·    เคยมีประสบการณ์การทำงานกับองค์กรที่เกี่ยวข้องกับกระทรวงที่จะเข้าทำหน้าที่
60
30
10
·    เป็น สส.ที่มีคะแนนเลือกตั้งดี, มีกลุ่ม สส. สนับสนุนมาก
15
15
70


ความเห็นเกี่ยวกับความเหมาะสมของค่าเงินบาทขณะนี้


(มีผู้ตอบ 20 แห่ง)


1. เหมาะสม 60% ของผู้ตอบ


2. แข็งเกินไปเล็กน้อย 20% ของผู้ตอบ


3. อ่อนเกินไป 20% ของผู้ตอบ


4. แข็งเกินไปมาก ไม่มีผู้ตอบข้อนี้


ทั้งนี้ ระดับที่นักวิเคราะห์ที่ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เสนอแนะอยู่ที่เฉลี่ย 30.14 บาทต่อเหรียญ สรอ. เนื่องจากเป็นระดับที่น่าจะเป็นประโยชน์ต่อการส่งออกของไทย




คาดการณ์การซื้อขายสุทธิจากนักลงทุนต่างประเทศและนักลงทุนสถาบันในประเทศ ในช่วง 1 ก.ค.- 30 ธ.ค.54


· ปี 2554 (มีผู้ตอบ 14 แห่ง)

- คาดว่านักลงทุนต่างประเทศจะซื้อสุทธิในครึ่งปีหลัง เฉลี่ย 34,571 ล้านบาท


- คาดว่านักลงทุนสถาบันในประเทศจะซื้อสุทธิในครึ่งปีหลัง เฉลี่ย 18,286 ล้านบาท





ตัวเลขคาดการณ์ที่สำคัญ


• ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ หรือ SET Index ในครึ่งปีหลังของปี 2554 คาดว่าจะเคลื่อนตัวในกรอบ 995 ถึง 1,221 จุด และเมื่อถึงสิ้นปีจะปิดตลาดที่ 1,197 จุด เทียบกับผลสำรวจครั้งก่อนคาดไว้ที่ 1,181 จุด






• อัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจ หรือ GDP Growth


- ของปี 2554 นักวิเคราะห์คาดการณ์อัตราการขยายตัวเฉลี่ยที่ 4.3 % ใกล้เคียงกับประเมินครั้งที่แล้วที่คาดว่าจะเติบโตเฉลี่ย 4.4%


- ของปี 2555 นักวิเคราะห์ประเมินว่าในปี 2555 เศรษฐกิจจะมีอัตราการขยายตัวเฉลี่ยที่ 4.7%






• ผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียน หรือ EPS Growth โดยใช้สมมติฐานภาษีใน ปี 2555 ที่ 30%


- ทั้งปี 2554 คาดการณ์มีการเติบโต เฉลี่ยที่ 16.7% สูงกว่าประเมินครั้งที่แล้วที่คาดไว้ 13.8%


- ทั้งปี 2555 คาดการณ์จะขยายตัวเฉลี่ยที่ 13.2% (ใช้สมมติฐานภาษีนิติบุคคลยังอยู่ที่ 30%)






• อัตราแลกเปลี่ยนระหว่างเงินบาทและดอลลาร์สรอ.


- ณ สิ้นปี 2554 ตัวเลขคาดการณ์เฉลี่ยที่ 29.7 บาทต่อดอลลาร์สรอ. ใกล้เคียงกับประเมินครั้งที่แล้วที่คาดไว้ 29.6 บาทต่อดอลลาร์สรอ.


- ณ สิ้นปี 2555 ตัวเลขคาดการณ์เฉลี่ยที่ 29.3 บาทต่อดอลลาร์สรอ.






• อัตราดอกเบี้ย RP 1 วัน


- ณ สิ้นปี 2554 นักวิเคราะห์ประเมินอัตราดอกเบี้ย RP 1 วัน ณ สิ้นปี 54 เฉลี่ย 3.6% สูงกว่าผลสำรวจครั้งก่อนซึ่งประเมินไว้ที่ 3.2%


- ณ สิ้นปี 2555 คาดว่าอัตราดอกเบี้ย RP 1 วัน ณ สิ้นปี 55 เฉลี่ยอยูที่ 4.1%


• ดัชนีราคาผู้บริโภค หรือ Consumer Price Index (CPI)


- เฉลี่ยทั้งปี 2554 คาดว่าจะอยู่ที่ 4.0% สูงกว่าประมาณการเดิมที่ 3.7%


- เฉลี่ยทั้งปี 2555 คาดว่าจะอยู่ที่ 3.9%






• ราคาทองคำ


- ณ สิ้นปี 2554 นักวิเคราะห์ประเมินราคาทองคำ ณ สิ้นปี 54 เฉลี่ยที่ 22,772 บาทต่อบาททองคำ


- ณ สิ้นปี 2555 คาดว่าราคาทองคำ ณ สิ้นปี 55 เฉลี่ยอยู่ที่ 23,800 บาทต่อบาททองคำ
ตัวเลขคาดการณ์ที่สำคัญ ปี 2554 และ ปี 2555


ค่าเฉลี่ย
จำนวนสำนักวิจัยที่ตอบ


สำรวจ ณ
7 เมย.54
สำรวจ ณ
13 กค.54
สำรวจ ณ
7 เมย.54
สำรวจ ณ
13 กค.54
SET Index




 - ณ สิ้นปี 54
1,181
1,197
19

19
- จุดสูงสุดของปี 54  ของครึ่งปีหลัง
1,232
1,221
19
17
- จุดต่ำสุดของปี 54 ของครึ่งปีหลัง
926
995
19
17
GDP Growth




 - ปี 54
4.4
4.3
21
19
 - ปี 55
4.8
4.7
16
19
EPS Growth (สมมติฐานภาษีที่ 30%)




 - ปี 54
13.8
16.7
21
19
 - ปี 55
13.9
13.2
17
18
FOREX  (Bht:US$)




- สิ้นปี 54
29.6
29.7
21
19
- สิ้นปี 55
29.0
29.3
15
15
ดอกเบี้ย RP 1 วัน




- สิ้นปี 54
3.2
3.6
21
19
- สิ้นปี 55
3.8
4.1
16
15
CPI เฉลี่ย




- ทั้งปี 54
3.7
4.0
20
19
- ทั้งปี 55
3.6
3.9
15
17
ราคาทองคำ




- สิ้นปี 54
-
22,772
-
9
- สิ้นปี 55
-
23,800
-
6
คาดการณ์  EPS Growth (%) และ Dividend Yield (%) ปี 2554 และ ปี 2555 แยกตามกลุ่มธุรกิจ

กลุ่มธุรกิจ
ปี 2554
ปี 2555
EPS Growth (%)  (ค่าเฉลี่ย)
Dividend Yield (%)  (ค่าเฉลี่ย)
EPS Growth (%)  (ค่าเฉลี่ย)
Dividend Yield (%)  (ค่าเฉลี่ย)
โรงแรม
220.23
1.90
7.39
2.13
ปิโตรเคมี
81.61
3.33
11.87
3.67
อาหาร
32.68
3.86
9.32
4.19
ธนาคาร
21.22
3.00
12.94
3.51
พลังงาน
20.00
3.75
10.51
4.15
อสังหาฯ
17.85
3.86
8.76
5.05
สื่อสาร
5.31
7.15
10.67
6.35
วัสดุก่อสร้าง
3.36
3.99
11.67
4.51
ชิ้นส่วนอิเล็กฯ
-5.28
5.51
12.85
6.12
เดินเรือ
-33.21
2.68
48.39
3.59

  อัตราการเติบโตของกำไรต่อหุ้น (EPS Growth) ของกลุ่มธุรกิจสำคัญ ในปี 2554 และ ปี 2555
  - ปี 2554  กลุ่มธุรกิจที่คาดว่าจะมีอัตราการเติบโตของกำไรต่อหุ้นสูงที่สุดสามอันดับแรก คือ
1. กลุ่มโรงแรม  คาดว่าจะเติบโตเฉลี่ยที่  220.23 %
2. กลุ่มปิโตรเคมี  เติบโตเป็นอันดับสองที่เฉลี่ย  81.61 %  
3. กลุ่มอาหาร เติบโตเป็นอันดับสามที่เฉลี่ย  32.68 %

  - ปี 2555  กลุ่มธุรกิจที่คาดว่าจะมีอัตราการเติบโตของกำไรต่อหุ้นสูงที่สุดสามอันดับแรก คือ
1. กลุ่มเดินเรือ  คาดเติบโตเฉลี่ย  48.39 %  
2. กลุ่มธนาคาร  เติบโตเป็นอันดับสองที่เฉลี่ย  12.94 %
3. กลุ่มชิ้นส่วนอิเลคทรอนิกส์  เติบโตเป็นอันดับสามที่เฉลี่ย  12.85 %

  อัตราผลตอบแทนเงินปันผล (Dividend Yield) ของกลุ่มธุรกิจสำคัญ ในปี 2554 และปี 2555
   - ปี 2554   นักวิเคราะห์ประเมินอัตราผลตอบแทนเงินปันผลของกลุ่มธุรกิจต่าง ๆ โดยกลุ่มธุรกิจที่คาดว่าจะมีอัตราผลตอบแทนเงินปันผลสูงที่สุดสามอันดับแรก คือ 
1. กลุ่มสื่อสาร  ประเมินอัตราผลตอบแทนไว้ที่ 7.15 %
2. กลุ่มชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์  คาดไว้ที่ 5.51 %
3. กลุ่มวัสดุก่อสร้าง  คาดว่าอยู่ที่ 3.99 %

   - ปี 2555   นักวิเคราะห์ประเมินอัตราผลตอบแทนเงินปันผลของกลุ่มธุรกิจต่าง ๆ โดยกลุ่มธุรกิจที่คาดว่าจะมีอัตราผลตอบแทนเงินปันผลสูงที่สุดสามอันดับแรก คือ 
1. กลุ่มสื่อสาร  ประเมินอัตราผลตอบแทนไว้ที่ 6.35 %
2. กลุ่มชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์  คาดไว้ที่ 6.12 %
3. กลุ่มอสังหาริมทรัพย์  คาดว่าอยู่ที่ 5.05 %

คำแนะนำในการกระจายการลงทุนในสินทรัพย์ต่าง ๆ  (มีผู้ตอบ 16 แห่ง) ได้ค่าเฉลี่ยดังนี้
สินทรัพย์ลงทุน
สัดส่วนการลงทุน (%)
หุ้นสามัญและกองทุนหุ้นในประเทศ
54
ทองคำและโกลด์ฟิวเจอร์ส
13
ตราสารหนี้และกองทุนตราสารหนี้
19
เงินสดและเงินฝาก
11
อื่น ๆ เช่น อสังหาริมทรัพย์, น้ำมัน (กองทุน),   สินค้าเกษตร เป็นต้น
3
รวม
100

คำแนะนำแก่นักลงทุน

สำหรับการลงทุนระยะกลาง-ยาว  แนะนำให้ลงทุนในหุ้นปัจจัยพื้นฐานดี มีอัตราเงินปันผลสูงกว่าอัตราเงินเฟ้อ มีสถานะการเงินดี  หนี้สินต่ำ  โดยทยอยสะสมในช่วงตลาดปรับฐานและราคาหุ้นอ่อนตัว  เลือกลงทุนในหุ้นที่รับประโยชน์จากการบริโภคภายในประเทศ  ทั้งนี้ ควรศึกษาข้อมูลหุ้นที่จะเข้าลงทุน และติดตามข้อมูลอย่างสม่ำเสมอ รวมทั้งติดตามปัจจัยภายนอก เช่น กระแสเงินทุนต่างชาติ และปัจจัยภายในประเทศ เช่น การเมือง อย่างใกล้ชิด 
สำหรับการลงทุนระยะสั้น  เพิ่มความระมัดระวังในการลงทุนให้มากขึ้น คาดว่าหุ้นมีความผันผวนในทิศทางขาขึ้น  เน้นลงทุนในหุ้นที่ป้องกันเงินเฟ้อ ได้ประโยชน์จากนโยบายของรัฐบาลใหม่ และติดตามสถานการณ์การเมืองอย่างใกล้ชิด

หุ้นแนะนำ
หุ้นเด่นที่นักวิเคราะห์แนะนำให้ลงทุนตรงกันหลายสำนักวิจัย ได้แก่ AP, BBL, KBANK, PTTEP, SAT, SCB เป็นต้น (เรียงตามลำดับตัวอักษร)  
สำหรับหุ้นที่นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่เห็นว่าราคาเต็มมูลค่า หรือเกินมูลค่าแล้ว ได้แก่ QH, TMB, TRUE เป็นต้น (เรียงตามลำดับตัวอักษร)

แหล่งข้อมูล...สมาคมนักวิเคราะห์หลักทรัพย์ โทร. 02-229-2329, 02-229-2355-6 อีเมล์ jirawan@saa-thai.org

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

โลกของศิลปิน : thaivi.com

หนังสือน่าอ่าน(Good Book)